วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

กำเนิดตุ๊กตาชาววัง


กำเนิดตุ๊กตาชาววัง


ภาพ:Tukkata_2.jpg

        
จากก้อนดินเหนียวท้องนาสีขุ่นมัว ขุดขึ้นมาปั้นแต่งระบายสีให้เป็นตุ๊กตาที่มีใบหน้าคมงาม ท่วงท่าลีลาอ่อนช้อย สวมใส่เสื้อผ้าสวยปราณีตด้วยปลายพู่กัน บ่งบอกถึงคุณค่าแห่งศิลปวัฒนธรรมไทย หลากหลายเรื่องราวอันมีที่มาแต่โบราณกาล
         จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ตุ๊กตาดินเผาไทยที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในสมัยทวาราวดี รือในราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 มักจะเป็นรูปคนจูงลิง ทำด้วยดินเผาสีแดง ตัวคนเป็นชาย มุ่นมวยผมไว้กลางศีรษะ นุ่งผ้าผืนเดียว มีลิงตัวน้อยๆ ที่ปลายเท้า สันนิษฐานว่าตุ๊กตาชนิดนี้อาจจะใช้เป็นของเล่นสำหรับเด็ก หรือใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา
         ต่อมาในสมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ การสร้างสรรค์ตุ๊กตาดินเผาก็ยังปรากฏออกมาในรูปแบบต่างๆ กัน ตามลักษณะนิสัยของคนยุคนั้นๆ ตามคติความเชื่อ และตามประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน เป็นต้นว่าตุ๊กตาเสียกบาลซึ่งทำกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยสร้างขึ้นตามความเชื่อถือเพื่อปัดเป่าอันตรายแก่คนเจ็บหรือหญิงคลอดบุตรในครัวเรือน ตุ๊กตาล้มลุก ปั้นขึ้นสำหรับเป็นของเล่นของเด็กตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์ ยังคงมีให้เห็นอยู่ตามชนบท ทำเพื่อนำไปแก้บนตั้งบูชาศาลเทพารักษ์ตุ๊กตาเคลือบดินเผาสมัยสุโขทัย ซึ่งปั้นเป็นรูปคนในอิริยาบถต่างๆ มีนักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่าคล้ายตุ๊กตาชาววังที่ชาวบางเสด็จทำกันอยู่ปัจจุบัน หากเป็นเช่นนั้นจริงนับว่าการทำตุ๊กตาชาววังของคนบางเสด็จจังหวัดอ่างทองได้รักษาแบบแผนวัฒนธรรมไทยเอาไว้อย่างดียิ่ง
         ตุ๊กตาชาววัง สุนทรียศาสตร์พื้นถิ่นนของชาวบ้านในยุคนี้ถือกำเนิดขึ้นในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานทางตัวอักษรปรากฏสืบต่อกันมาว่าเถ้าแก่กลีบ ข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก เป็นผู้ริเริ่มผลิตขึ้น โดยปั้นตุ๊กตาชาววังออกจำหน่ายให้แก่ข้าราชบริพารภายในพระบรมมหาราชวังดังนั้น ลักษณาการตุ๊กตาชาววังในสมัยก่อนจึงลอกเลียนแบบมาจากวิถีชีวิต การแต่งกาย วัฒนธรรม ประเพณีของชาววังทุกประการ สมคำเปรียบเปรยว่ายามจะนั่ง ก็ท้าวแขนอ่อนช้อย เหมือนตุ๊กตาชาววัง ซึ่งจะเน้นความพิเศษที่ขนาดเล็กจิ๋ว บางตัวมีหัวเท่าไม้ขีดไฟการปั้นแต่ละตัว ผู้ปั้นต้องใช้ความละเอียดละเมียดละไมอย่างมาก ชาววังสมัยก่อนนิยมซื้อสะสมเป็นของรักของชอบ หรือไว้สำหรับตกแต่งประดับประดาบ้านเรือน
         หัตถศิลป์ตุ๊กตาชาววังที่เคยเฟื่องฟูกลับซบเซาลงในรัชสมัยรัชกาลที่ 5เมื่อข้าราชบริพารบางคนย้ายออกไปจากพระบรมมหาราชวัง แล้วได้นำเอาศาสตร์นี้ติดตัวออกไปด้วย จึงไม่มีใครรู้รักจักทำต่อ ศิลปะการปั้นตุ๊กตาชาววังจึงจางหายไปนาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดให้รื้อฟื้นการปั้นตุ๊กตาชาววัง
         ย้อนไปในราวปีพุทธศักราช 2519 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดให้รื้อฟื้นวิชาการปั้นตุ๊กตาชาววังขึ้นที่หมู่บ้านวัดตาล ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบางเสด็จ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอป่ามก จังหวัดอ่างทองพระองค์ท่านรับสั่งให้ชาวบ้านชาวนาในหมู่บ้านที่สนใจและต้องการมีอาชีพเสริม นอกเหนือจากการทำนา ใช้เวลาว่างมาเรียนรู้และฝึกฝนการทำตุ๊กตาชาววังจากครูในโครงการศิลปาชีพพิเศษ โดยขอใช้ศาลาการเปรียญของวัดท่าสุทธาวาส วัดเก่าแก่คู่บุญของจังหวัดอ่างทองเป็นสถานที่ฝีกหัด จึงถือว่าอาชีพการทำตุ๊กตาชาววังนับเป็นโครงการในพระบรมราชินูปถัมภ์ จากเอกสารคน-รูป-ดิน เครือซิเมนต์ไทยรักษ์ไทยจัดทำเพื่อสื่อมวลชนในการพาชมการประดิษฐ์ตุ๊กตาชาววังที่หมู่บ้านบางเสด็จ อาจารย์ฉวีวรรณ เมืองสุวรรณ อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดท่าสุทธาวาส เขียนถึงเรื่องตุ๊กตาชาววังในช่วงที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถมีพระราชดำริส่งเสริมให้ราษฎรหารายได้ให้แก่ครอบครัวด้วยการปั้นตุ๊กตาชาววัง ไว้ตอนหนึ่งว่า
         “ก่อนหน้านี้ธรรมชาติไม่เข้าข้างชาวไร่ชาวนาเอาเสียเลย ที่อ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงกิดฝนตกมากเกินความจำเป็นทำให้เกษตรกรอ่างทองได้ผลผลิตทางการเกษตรไม่ดีติดต่อกันหลายปี จนกระทั่งเมื่อปี 2519 สมเด็จพระราชินีท่านเสด็จฯทอดพระเนตรหมู่บ้านแถบอำเภอป่าโมก ซึ่งขณะนั้นมีการทำธูปเป็นอาชีพเสริมพระองค์ท่านจึงรับสั่งว่าชาวอ่างทองน่าจะทำงานฝีมือชนิดอื่นได้เช่นกัน เพราะการทำธูปก็ต้องใช้ฝีมือในการปั้นเหมือนกัน W
         จากวันนั้นเป็นต้นมา ชื่อหมู่บ้านบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทองคือแหล่งผลิตตุ๊กตาชาววังที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงแพร่หลายขจรขจายไปไกลทั่วโลก


ที่มา panyathai.or.th

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ดินเผาบ้านป่าตาล



 ดินเผาบ้านป่าตาล

 บ้านป่าตาล เป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 4 ต.สันผักหวาน อำเภอหางดง จ.เชียงใหม่ ที่อาชีพส่วนหนึงของชุมชนคือการทำกิจการตุ๊กตาดินเผา และเครื่องปั้นดินเผาซึ่งเป็นลักษณะ ปั้นด้วยมือ ล้วนๆปราศจากการใช้แม่พิมพ์งานเป็นงานปั้นดินเหนียวเผาให้แดงเป็นสีธรรมชาติของดินซึ่งเป็นงานที่เรียกว่า Terra-Cotta เหมาะสำหรับการตกแต่งสวนและแต่งบ้านหรือนำไปเป็นของที่ระลึกในโอกาศต่างๆที่เน้นความเป็นธรรมชาติ 
ตัวอย่างสินค้า




     ตุ๊กตาเด็กไทย และ ตุ๊กตาสัตว์นานาชนิด

ที่มา thaiza.com

ความเป็นมาของตุ๊กตาดินเผา




ประวัติความเป็นมาของตุ๊กตา

ภาพ:Tukta_2.jpg

         ตุ๊กตาเป็นของเล่นที่เด็กชอบมากมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตารูปคนหรือรูปสัตว์ตุ๊กตาที่นับว่าเก่าแก่ที่สุดเป็นตุ๊กตารูปคน เป็นศีรษะผู้หญิง ไว้ผมแสกกลาง (ลำตัวสูญหายไป) ทำด้วยดินเผาหรือปูนปั้น ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-14 พบท ี่เหมืองอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี อีกแบบหนึ่งที่พบเห็นเป็นศีรษะผู้หญิงมุ่นผมสูงกลางกระหม่อม มีเกี้ยวรัดผมตุ๊กตาที่น่าสนใจเป็นพิเศษได้แก่ ตุ๊กตารูปคนเลี้ยงสัตว์ ทำด้วยดินเผาสีแดง พบในบริเวณขุดแต่งเจดีย์หมายเลข 13 ซึ่งเป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม สันนิษฐาน ว่าอาจ เป็นตุ๊กตาสำหรับเด็กเล่นหรืออาจจะเป็นเครื่องรางของขลังตามคติชาวอินเดีย

ภาพ:Tukta_4.jpg

         ตามประวัติความเป็นมาของตุ๊กตา เดิมทีเดียวคงจะไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับให้เด็กเล่นแต่มุ่งหมายจะใช้ในพิธีฝังศพบ้าง หรือบรรจุในสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ต่อมามีคนไปขุดพบจึงนำรูปปั้นที่อาจจะมีทั้งคนและสัตว์กลั บบ้านเพื่อฝากเด็ก เมื่อเด็กชอบ ผู้ใ หญ่จึงทำขึ้นเพื่อให้เด็กได้เล่นโดยตรงจึงเกิดมีตุ๊กตาขึ้น ตุ๊กตาสมัยก่อน ๆ มักทำง่าน ๆ รูป แบบไม่ซับซ้อน โดยใช้วัสดุใกล้ ตัว เช่น ดิน ผ้า ไม้ รังไหม ฯลฯ ไม่ต้องซื้อหาเล่น เสียแล้วก็ทำใหม่ได้ นอกจากจะปั้นตุ๊กตาเป็นรูปคนแล้วยังมีตุ๊กตาปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ที่เห็นในชีวิตประจำวันด้วย เช่น วัว ควาย หมู สุนัข เป็ด ไก่ นก ฯลฯ

[แก้ไข] ประเภทของตุ๊กตา

ภาพ:Tukta_3.jpg

         ตุ๊กตาไทยมีหลายประเภท จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการใช้ดังนี้
         1. ตุ๊กตาที่ใช้ในพิธีกรรม ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม ต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตาศาลพระภูมิ เป็นตุ๊กตาคนรับใ ช้ชายหญิง และช้างม้าตุ๊กตาชะนีสีเหลืองใช้ในพิธีทอดผ้าป่า เป็นต้น
         2. ตุ๊กตาสำหรับเด็กเล่น ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เด็กเล่นมักทำอย่างง่ายๆ จากวัสดุที่หาได้ใกล้ๆ ตัว
         3. ตุ๊กตาฝีมือ ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแสดงฝีมือทางศิลปะให้เด็กและผู้ชมได้ชมความงามอันประณีตละเอียดอ่ อน ผู้ประดิษฐ์ตุ๊กตาประเภทนี้นับว่าเป็นศิลปินที่ควรแก่การยกย่อง ตุ๊กตาฝีมือที่มีชื่อเสียงและมีคุณค่าทาศิลปวัฒนธรรม มีหลายลักษณะด้วยกัน ดังนี้

ภาพ:Tukta_5.jpg

  • ตุ๊กตาชาววัง ศิลปินผู้ประดิษฐ์ คือ นางเฉ่ง สาครวาสี (สกุลเดิม สุวรรณโน)
  • ตุ๊กตาบางกอดอลล์ ศิลปินผู้ประดิษฐ์คือคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล เป็นตุ๊กตาตัวโขนตัวละครจากวรรณคดีและละครรำต่างๆ

ภาพ:Tukta_6.jpg

         4. ตุ๊กตาตามความเชื่อพื้นบ้าน ตุ๊กตาประเภทนี้ประดิษฐ์ขึ้นง่ายๆ ด้วยฝีมือชาวบ้าน
  • ตุ๊กตาแก้บน เป็นตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ขึ้นหรือซื้อหามา "แก้บน" หลังจากการบนบานศาลกล่าว
  • ตุ๊กตากุมาร ส่วนมากจะเป็นตุ๊กตาเครื่องปั้นดินเผา ทำเป็นเด็กผู้ชายไว้จุก
  • ตุ๊กตานางกวัก ประดิษฐ์เป็นหญิงสาว แต่งตัวสวยงามสวมกระบังหน้า ท้าวแขนซ้ายและยกมือขวากวักไปข้างหน้า

         5. ตุ๊กตาอื่นๆ

[แก้ไข] ประโยชน์ของตุ๊กตา

ภาพ:Tukta_10.jpg
         ตุ๊กตาให้ทั้งความอบอุ่น ยินดี และความสุขทางใจแก่เด็กและแก่ผู้ใหญ่ดังที่โรสแมรี วอร์เนอร์ และอิลารี ฟิลลิปส์ เขียนไว้ในวารสาร "สวัสดี" ของบริษัทการบินไทย จำกัด ฉบับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ค.ศ.1978 ว่า "ตุ๊กตาเป็นสิ่งสากล ให้ความสุขใจ เป็นเพื่อ เป็ นความพึงพอใจและภาคภูมิใจของคนจำนวนหลายพันคนทั่วทุกมุมโลกไม่ว่าผู้เยาว์หรือผู้ใหญ่ล้วนแต่รักตุ๊กตา ผู้สะสมตุ๊กตามีตั้งแต่สมเด็จพระราชินีจนถึงคนสามัญ จนถึงผู้รักและซาบซึ้งในความน่ารักของตุ๊กตาน้อย ๆ หลายเผ่าพันธุ์ และ จนถึงเด็กหญิงน้อยๆ ที่แสนจะตื่นเต้นเมื่อ โอบกอดตุ๊กตาสุดที่รักอย่างแสนสุขโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ การแต่งกายและราคาค่างวดของมัน"
ภาพ:Tukta_9.jpg
         ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตุ๊กตาใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษาวิชาต่าง ๆ ได้หลายวิชาไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การศึกษาวิช าต่างๆ ได้หลายวิชา ไม่ว่าจะเป็นวิชาสังคมศึกษา วรรณคดีไทย นาฎศิลป์ไทย เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ประกอบการจัดนิทรรศการในโอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเมืองไทย เพื่อเพิ่มความรู้และความสุขใจให้แก่ผู้สนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การสะสมตุ๊กตาไว้ชม นับว่าเป็นงานอดิเรกที่ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน ของที่ระลึกที่จัดถวายองค์พระประมุขของประเทศต่าง ๆ ราชอาคันตุกะในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือแขกของรัฐบาลมัก จะเป็นตุ๊กตาไทยของบางกอกดอลล์ ซึ่งเป็นตุ๊กตาไทยที่ประดิษฐ์อย่างประณีตบรรจงตุ๊กตาเป็นสื่อสำคัญ ในการเผยแพร่เกียรติภูมิและวัฒนธรรมไ ทยไปสู่ต่างแดนเป็นทูตที่ช่วยเสริมสร้างมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลและระหว่างประเทศ
         ตุ๊กตาไทยนั้นมีเอกลักษณ์ไทยสูงมาก ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ควรทะนุถนอมไว้ตอลดไป และไม่ว่าตุ๊กตาไ ทยจะมีวิวัฒนาการไปตามกาลเวลาอย่างไร เราก็ควรจะรักษาเอกลักษณ์ไทยในตุ๊กตาของเราไว้ให้ได้

ภาพ:Tukta_8.jpg

ที่มา panyathai.or.th

งานปั้นดินเผา


                ตุ๊กตาสัตว์
ตุ๊กตาเด็ก
ตุ๊กตาดินเผาเด็กไทย
**คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายการสินค้า**
ตุ๊กตาสัตว์
           ตุ๊กตาดินเผาสัตว์นานาชนิด
     **คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายการสินค้า** 
 
         ของที่ระลึก
เครื่องปั้นดินเผา ใบไม้
งานไอเดียใหม่เป็นเครื่องปั้นดินเผาแต่งภายในบ้านที่นำเอา
ใบไม้จริงจากธรรมชาติ
หลากหลายพันธ์มาตกแต่งให้กับงาน ทำให้สวยงามและทรงคุณค่า
เป็นอย่างมาก เป็นงานที่ไม่มีใครทำมาก่อนและได้จดลิขสิทธิ์แล้ว

**คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายการสินค้า** 
 โคมไฟ
โคมไฟตั้งโต๊ะดินเผาติดลายใบไม้จริงตัวหมวกโคมผ้าสองชั้นเนื้อดี
แต่จำหน่ายในราคาต้นทุนเข้าชมตัวอย่างได้เลยครับ
**คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายการสินค้าโคมไฟ**
                               

ตุ๊กตาดินเผาเชิงเทียนหอม(Aromatic Candle) ตุ๊กตาดินเผาของบ้านป่าตาลงานปัดทอง
กับเทียนหอมหลายกลิ่นหลายแบบ ตุ๊กตา
จำหน่ายในราคาพร้อมเทียนเพียง 50บาทครับ
**คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายการสินค้า**
             งานปั้นดินเผาในรูปแบบของเก่าของโบราณ
ปั้นมือล้วนๆไม่มีการใช้แม่พิมพ์ มีคุณค่าแต่ราคาไม่แพง

**คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายการสินค้า** 

ภาชนะดินเผา
ของชำร่วย

ภาชนะดินเผา
งานภาชนะดินเผาปั้นมือล้วนๆไร้แม่พิมพ์แบบน่ารักๆ 


ของปั้นขนาดจิ๋วเหมาะเป็นของชำร่วยในราคาเพียงตัวละ 15 บาท
ถึงจะราคาไม่แพงแต่ทุกตัวยังคงปั้นด้วยมือทีละตัวล้วนๆครับ
แบบบ้านป่าตาล
เครื่องประดับ

แบบบ้าน
 รวมแบบบ้านสไตล์ล้านนารีสอร์ท
ทรงไทยประยุกต์ แบบบ้านชั้นเดียว แบบบ้านชั้นครึ่ง
แบบบ้านสองชั้นในราคาถูกสุดๆ เพียง 1,500 บาท 
เครื่องประดับ

งานใหม่ล่าสุด งานปั้นดินญี่ปุ่น
งานปั้นมือ Handmade 100% ปั้นทีละชิ้นทีละดอกในรูปแบบเครื่องประดับ
สวยๆ น่ารักมากกมาย ทั้งปลีกและส่ง 

otop

กระบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาจากปั้นจนถึงการเผาพร้อมจำหน่าย
Process of terra-cotta dolls
**คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด** 
**คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียดการเยี่ยมชม ดูงาน และกิจกรรมต่าง*
ที่มา banpatan.com

ตุ๊กตาดินเผา

บ้านป่าตาล เป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 4 ต.สันผักหวาน อำเภอหางดง จ.เชียงใหม่ ที่อาชีพส่วนหนึงของชุมชนคือการทำกิจการตุ๊กตาดินเผาและเครื่องปั้นดินเผาซึ่งเป็นลักษณะปั้นด้วยมือ ล้วนๆปราศจากการใช้แม่พิมพ์ งานเป็นงานปั้นดินเหนียวเผาให้แดงเป็นสีธรรมชาติของดินซึ่งเป็นงานที่เรียกว่า Terra-Cotta เหมาะสำหรับ
การตกแต่งสวนและแต่งบ้านหรือนำไปเป็นของที่ระลึกในโอกาสต่างๆที่เน้นความเป็นธรรมชาติ โดยความแตกต่างของหมู่บ้านป่าตาลกับหมู่บ้านอื่นๆซึ่ง
ทำเครื่องปั้นดินเผาก็คือบ้านป่าตาลจะไม่เน้นการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในลักษณะแจกันหรือภาชนะแต่จะเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะในส่วนของตุ๊กตาดินเผาในลักษณะ
งานประติมากรรมแบบลอยตัวเท่านั้น โดยอาชีพการปั้นตุ๊กตาดินเผาของชาวบ้านป่าตาลได้ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกล่าวคือทำแบบพอเพียงใช้ทรัพยากร
ในชุมชนมาก่อให้เกิดราย เพื่อให้พอเลี้ยงครอบครัวไม่มุ่งหวังผลกำไรเป็นที่ตั้ง
เว็บไซต์ www.banpatan.com แห่งนี้ได้ถูกสร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ2543
เพื่อเป็นการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์บ้านป่าตาลให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปโดยหวังจะให้บ้านป่าตาลจะได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมหรือแหล่ง
ศึกษาหาความรู้ต่อไปในอนาคต รูปแบบการปั้นดินนั้นเกิดจากการลองผิดลองถูกของกลุ่มชาวบ้านซึ่งงานในยุคแรกๆ
ยังขาดฝีมือและความสวยงามอยู่บ้างแต่ทางผู้จัดทำเว็บก็ยังคงเก็บรวบๆภาพเก่าๆไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเพื่อการพัฒนาปรับปรุง ต่อไป

 บ้านป่าตาลผู้จำหน่ายเครื่องปั้นดินเผา ตุ๊กตาดินเผา ภาชนะดินเผา นานาชนิด เพื่อการตกแต่งบ้านและสวน รวมทั้งรับผลิตงานปั้นดินเผา
ตามแบบที่ต้องการที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบใครเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการหารายได้เสริมจากงานประจำ
หรือคิดจะทำธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ต้องวุ่นวายกับงานประจำ 

ที่มา banpatan.com